Friday, August 22, 2008

Review ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 3

กฎหมายแพ่ง 3 ครอบครัว-มรดก
ภาคพิเศษ เมื่อ 3 ส.ค.2551

หลังจากลงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
ถ้าครั้งนี้ไม่ผ่านคงจะลงได้อีกทีภาคพิเศษปีหน้า เพราะวิชานี้เปิดภาค 1(เลยเวลาลงทะเบียนเพิ่มไปแล้ว) และ ภาคพิเศษเท่านั้น



Review ข้อสอบ
1. นายสมัยอายุ 28 ปี นางสาวลินจงอายุ 19 ปี นายสมัยขอหมั้นนางสาวลินจงต่อบิดามารดาของนาวสาวลินจงและนางสาวลินจงก็ยินยอมด้วย
โดยมีของหมั้นคือสร้อยเพชร 1 เส้น มอบให้ไว้ และนายสมัยตกลงว่าจะให้ทองคำหนัก 10 บาทแก่บิดามารดาของนางสาวลินจงด้วยเพื่อตอบแทนการที่นางสาวลินจงยินยอมแต่งงานด้วย โดยจะให้ก่อนวันสมรส
ก่อนสมรสนางสาวลินจงไปตรวจร่างกายพบว่าตนเองเป็นวัณโรคขั้นรุนแรง จึงบอกแก่นายสมัยไป แต่นายสมัยก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่นางสาวลินจงกลับบอกเลิกสัญญาหมั้นและไม่ยอมคืนของหมั้นด้วย
ส่วนบิดามารดาของนางสาวลินจงก็มาทวงทองคำหนัก 10 บาทกับนายสมัยด้วย
จงให้คำปรึกษาแก่นายสมัย

ตอบ
การหมั้นเกิดโดยสมบูรณ์ คือผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา และมีของหมั้นส่งมอบขณะหมั้น
นางสาวลินจงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นส่วนทองคำหนัก 10 บาท ซึ่งเป็นสินสอดนายสมัยไม่ต้องให้แก่บิดามารดาของนางสาวลินจงเพราะไม่มีการสมรส
เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ

///////////////////////

2. นาย A ชอบเล่นการพนัน ต้องการสมรสกับนางสาว B จึงได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ต่อนางสาว B ว่าตนเองจะไม่เล่นการพนันอีกเลยเด็ดขาด ถ้ากลับไปเล่นอีกให้นางสาว B ฟ้องหย่าได้้
หลังจากนาย A สมรสก็กลับไปเล่นการพนันอีก ภริยาของนาย A จะใช้สัญญาดังกล่าวฟ้องหย่านาย A ได้หรือไม่ และถ้าได้ทำสัญญาไว้ภายหลังจากสมรสแล้วจะให้ผลแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

ตอบ
สัญญาก่อนสมรสดังกล่าวถือเป็นทัณฑ์บนตามเหตุฟ้องหย่า (8) เมื่อผิดทัณฑ์บนเรื่องความประพฤติ ภริยาของนาย A ใช้เป็นเหตุฟ้องหย่าได้
ส่วนถ้าเป็นการทำสัญญาภายหลังการสมรสแล้วก็ยังให้ผลเช่นเดียวกันคือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
**ข้อนี้ไม่แน่ใจตรงที่ว่า คำว่าทำสัญญา ในข้อสอบนั้นจะถือว่าทำเป็นหนังสือหรือไม่ เพราะในตัวบท (8) บอกว่าทัณฑ์บนทำเป็นหนังสือ
**ส่วนที่ว่าทำก่อนสมรสนั้น มีฎีกาในหนังสือบอกว่าเป็นทัณฑ์บนฟ้องหย่าได้


//////////////////////

3. นายดำมีพี่ร่วมบิดาเดียวกัน 3 คน คือ นายขาว นายเขียว และ นางแดง นายดำตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ นายดำมีทรัพย์สินคือ เงินฝากธนาคารจำนวนหนึ่งล้านบาท
สร้อยเพชรและทรัพย์สินอื่นๆ รวมแปดแสนบาท หลังจากนายดำตาย นายเขียวปิดบังเงินฝากของนายดำจำนวนหกแสนบาทโดยไม่ให้ทายาทอื่นรู้ว่ามีทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ ส่วนนางแดงได้ยักย้ายสร้องเพชรมูลค่าสองแสนบาทไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ให้ทายาทคนอื่นรู้ จงแบ่งมรดกของนายดำ

ตอบ
นายดำไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์มรดกจึงตกแก่ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมของนายดำมีลำดับเดียวคือ ลำดับ 4 พี่หรือน้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
นายขาว นายเขียว และนางแดง มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเท่ากัน เพราะเป็นทายาทลำดับเดียวกัน โดยได้คนละ หกแสนบาทาย
แต่นายเขียวปิดบังทรัพย์มรดก ทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทอื่น เท่าส่วนที่ตนควรจะได้ จึงถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเลย
ดังนั้นส่วนของนายเขียวจึงต้องแบ่งให้ทายาทที่เหลือ คือนายขาว และนางแดงคนละครึ่ง คือ สามแสนบาท
ส่วนนางแดงยักย้ายทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนควรจะได้คือสองแสนบาทจึงถูกกำจัด
ไม่ให้รับมรดกเท่ากับสองแสนบาท
ดังนั้นต้องนำส่วนสองแสนบาทนี้ไปให้ทายาทที่เหลือคือนายขาว (ส่วนนายเขียวนั้นถูกกำจัดไปหมดแล้ว จึงไม่มีสิทธิเลย)
สรุปว่า มรดกของนายดำจะแบ่งเป็น
ให้นายขาว 600,000+300,000+200,000=1,100,000 บาท
ให้นางแดง 600,000+300,000-200,000=700,000 บาทาท

//////////////////////
ตอนแรกเก็งว่าเรื่องหย่าไม่น่าจะออกสอบ เพราะดูข้อสอบเก่าแล้วมักจะออกเรื่องบุตรชอบด้วยกฎหมาย

วิชานี้ผมอ่านคำบรรยายของเนติด้วย เพราะหนังสือ มสธ ปรับปรุงไม่ทัน หลายเรื่องมีฎีกาออกมาชัดเจนแล้วแต่ในหนังสือยังบอกว่ามีหลายความเห็น
แต่ที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างการแบ่งมรดกที่คล้ายๆข้อสอบข้อ 3 ข้างบนนี้ ในหนังสือ มสธ ซึ่งออกมา สิบกว่าปีแล้ว เหมือนกันทุกตัวเลขกับคำบรรยายเนติเมื่อปีที่แล้วเลย

มีข้อสังเกตุอีกว่าปัจจุบัน ปพพ. ครอบครับ มีแก้ไขบางเรื่องแล้ว เช่น 1557 ให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เด็กเกิด หรือ 1598/37 กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมตายให้บิดามารดา กลับมามีอำนาจปกครองได้ทันที
เพื่อนๆพี่ๆใครเคยเรียนผ่านไปแล้วระวังจะจำของเก่าไปนะครับ

เหลืออีก 2 วิชาตุลานี้ ยังไม่ได้เริ่มเปิดหนังสือเลย (พาณิชย์ 1 + ประสบการณืวิชาชีพ )

No comments: